วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

QoS

Quality-of-Service (QoS)

QoS เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็นไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ เช่น ดีเลย์ แบนด์วิดธ์ การเปลี่ยนแปลงของดีเลย์ (jitter) อัตราการสูญหายของข้อมูล (loss) หลักการทั่วไปของ QoS Routing จึงเป็นการตรวจวัดและควบคุมการไหลของข้อมูลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยวิธีการพื้นฐานของ QoS มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ Reservation และ Prioritization
Reservation หลักการคือการรับประกันด้วยวิธีจองทรัพยากรของเครือข่าย ก่อนที่จะเริ่มส่งข้อมูล ทรัพยากรที่จำเป็นต้องจองก็คือ บัฟเฟอร์ , แบนด์วิดธ์ และ ดีเลย์ ในส่วนของการคำนวณนั้นจะเน้นไปที่การหาขนาดของบัฟเฟอร์และแบนด์วิดธ์ที่เหมาะสมที่จะรักษาดีเลย์ระหว่างต้นทางไปยังปลายทางไม่ให้เกินที่กำหนด ในแต่ละ hop สามารถแยกดีเลย์ออกมาได้ 4 ส่วน คือ
1.Queueing Delay คือดีเลย์ที่เกิดจากการรอคิวส่ง สำหรับในเราท์เตอร์นั้น คือ ช่วงเวลาที่ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสามารถเก็บได้มากหรือน้อยขึ้นกับการจัดคิว และขนาดของคิว ถ้าคิวขนาดใหญ่จะมีโอกาสที่หน่วยความจำจะเก็บข้อมูลได้มากทำให้ค่าเฉลี่ยของดีเลย์สูง ถ้าคิวสั้นค่าเฉลี่ยของดีเลย์จะน้อยกว่าแต่ทำให้อัตรการสูญเสียมีมากขึ้นเนื่องจากแพ็คเกตถูกละทิ้งจากระบบ
2.Processing Delay คือดีเลย์ที่เกิดจากการประมวลผลของเราท์เตอร์ เช่น การ lookup routing table การ load/transfer memory การติดต่อ I/O ระหว่างซีพียู กับ network interface
3.Transmission Delay คือดีเลย์ที่เกิดจากอัตราการส่งข้อมูล ค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับแบนด์วิดธ์ ถ้าแบนด์วิดธ์กว้างดีเลย์จะน้อย
4.Propagation Delay คือดีเลย์ของสื่อที่ใช้ส่งข้อมูล เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสื่อนั้น ๆ
ปัจจุบันมีเฟรมเวิร์กที่ใช้หลักการของ Reservation ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า Integrated Services ซึ่งใช้ Resource Reservation Protocol (RSVP) ในการจองทรัพยากรเครือข่าย เส้นทางของการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางไปยังปลายทางจะไม่แตกต่างจากการส่งข้อมูลแบบ Best Effort แต่ Integrated Services สามารถรับประกันได้ว่าดีเลย์ในการส่งจากต้นทางไปถึงปลายทางจะไม่เกินค่า ๆ หนึ่งแน่นอน ยกเว้นกรณีที่เส้นทางมีการเปลี่ยนแปลง ปัญหาใหญ่ของ Integrated Services คือ Scalability เพราะเครือข่ายต้องแบ่งทรัพยากรบางส่วนไปใช้กับ QoS Routing โดยเฉพาะถ้าใช้งาน QoS Routing มาก ทรัพยากรจะหมดไป นอกจากนี้ การจองทรัพยากรด้วย RSVP ไม่ได้กระทำอย่างถาวร จึงต้องมีการส่งแพ็คเกตของ RSVP ไปยังเราท์เตอร์เพื่อรีเฟรชการจองทรัพยากรตลอดเวลา จึงมี processing overhead สูง ปกติแล้ว Integrated Services จึงจำกัดให้ใช้งานเฉพาะใน Autonomous System (AS) เดียวกันเท่านั้น
Prioritization เป็นการจัดลำดับความสำคัญ คือข้อมูลที่มีความสำคัญมากจะได้รับการส่งก่อน หรือให้การเซอร์วิสก่อน การเลือกระดับความสำคัญจะเป็นไปตามชนิดของข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งการส่งข้อมูลที่ต้องการดีเลย์น้อย ๆ จะมีระดับความสำคัญสูง ข้อดีของวิธีการนี้คือ ไม่ต้องมีการจองทรัพยากรของเครือข่าย จึงสามารถใช้งานได้ในวงกว้าง บางครั้งการทำงานแบบ Prioritization จะเรียกว่าเป็น Class-of-Service Routing (CoS Routing) เพราะแพ็คเกตจะถูกแบ่งออกเป็นคลาส หรือระดับความสำคัญ ข้อมูลในคลาสเดียวกันจะมีความสำคัญเท่ากัน ใช้ทรัพยากรทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อเสีย เนื่องจากวิธีนี้ไม่สามารถรับประกันได้แน่นอนว่าการจัดส่งจะเป็นไปตามเงื่อนไข

Queueing Discipline
Priority Queueing เป็นรูปแบบหนึ่งที่ปรับเปลี่ยนมาจาก FIFO คือ เราเตอร์จะสามารถเลือกแพ็คเกตได้จากคิวหลายคิว และ จะมีการกำหนดความสำคัญให้กับแต่ละคิว ซึ่งจะแตกต่างกันไป เราเตอร์จะส่งแพ็คเกตโดยเลือกจากคิวที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับแรก จากนั้นจะเลือกคิวที่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับ และในแต่ละคิวจะมีการจัดการกับแพ็คเกตในคิวนั้นแบบ FIFO




Class-Based Queueing (CBQ)
CBQ จะมี class ทั้งหมดหลาย class มีการกำหนด default class โดยในแต่ละclass จะมีคิวของมันเองและมีการกำหนดค่าแชร์แบนวิธด์ให้กับแต่ละ class ด้วย โดยที่ class ลูกนั้นสามารถขอยืมใช้แบนวิธด์ของ class พ่อแม่ได้
จากรูป classifier จะจำแนกแพ็คเกตที่มาถึงไปยัง class ที่เหมาะสม โดย estimator จะเป็นตัวตรวจสอบว่า class มีการใช้แบนวิธด์เกินค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าเกิน estimator จะทำการ กำหนด overlimit ไว้ที่ class นั้นๆ ส่วน scheduler จะพิจารณาแพ็คเกตต่อไปที่จะถูกส่งจาก class อื่นซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสำคัญและสถานะของ class โดยจะใช้ weighted-round robin scheduling ระหว่าง class ที่มีระดับความสำคัญเท่ากัน





Alternate Queueing (ALTQ)
ALTQ เป็น Queueing Framework ที่อนุญาตให้สามารถใช้กลุ่มของ Queueing Disciplines ได้ เช่น CBQ , RED , and WFQ โดย ALTQ สามารถ Implement ได้บน Free BSD
ALTQ ถูกออกแบบให้สนับสนุนในหลาย ๆ Queueing Disciplines กับองค์ประกอบที่แตก ต่างกัน เช่น Scheduling Strategies, Packet Drop Strategies, Buffer Allocation Sreategies, Multiple Priority Levels, and Non-Work Conserving Queues. ALTQ แต่ละแบบสามารถแชร์กันได้ในบางส่วน เช่น Flow Classification, Packet Handling, and Device Driver Support ดังนั้น เราสามารถที่จะ Implement Queueing Discipline อันใหม่ โดยที่ไม่ต้องจำเป็นต้องรู้รายละเอียดของการ Implement Kernel




แพ็คเกตจะส่งผ่านมายัง ip_output หลังจากนั้นจะถูกเติม ip header แล้วจึงถูกส่งต่อไปที่ if_output ซึ่งทำหน้าที่ enqueue แพ็คเกตเข้าสู่ transmission queue หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ifqueue structure เมื่อ output link ว่างพร้อมที่จะส่งแพ็คเกตได้ แพ็คเกตจะถูก dequeue ออกจาก ifqueue structure โดยฟังก์ชั่น if_start ซึ่ง ALTQ ได้มีการจัดเตรียมฟังก์ชั่น enqueue และฟังก์ชั่น dequeue ทำหน้าที่แทน if_output และ if_start ซึ่งฟังก์ชั่น dequeue และ enqueue นี้จะถูกกำหนดไว้ให้กับ queueing discipline โดยเฉพาะ

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

WLAN

โทโปโลยีของ WLAN

-คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันโดยที่ติดตั้งเน็ตเวิร์คการ์ดแบบไร้สาย





-เครือข่ายผสมระหว่างเครือข่ายไร้สายกับใช้สาย จุดที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 เครือข่ายเรียกว่า แอ็กเซสส์พอยต์



อุปกรณ์เครือข่ายและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่องสัญญาณเดียวกันในการรับส่งข้อมูลเรียกว่า BSS (Basic Service Set)



WLAN สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้หลายประเภท


-Narrow band ใช้คลื่นวิทยุความถี่เดียว ป้องกันคลื่นรบกวนโดยให้ผู้ใช้แต่ละคนใช่คนละความถี่


-Spread Spectrum ใช้ช่วงความถี่กว้างแต่จะแบ่งเป็นช่วงย่อยๆ แล้วส่งสัญญาณโดยใช้ช่องสัญญาณทีละช่อง ประโยชน์คือ

ใช้ช่องความถี่กว้าง ทำให้สัญญาณมีกำลังมาก การรับส่งสัญญาณง่ายขึ้น แบ่งเป็น 4 ประเภท

+FHSS ใช้สัญญาณแบบเนโรว์แบนด์ แต่จะเปลี่ยนความถี่ตามลำดับที่ฝังรับและฝังส่งให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งลำดับจะดูเหมือนกับ

แบบสุ่มสำหรับสถานีอื่น

+DSSS ใช้ช่องความถี่ขนาดกว้างในการส่งสัญญาณแต่จะมีวิธีการกู้คืนข้อมูล ด้วยการสร้างบิตเพิ่มเติม เรียกว่าปิปปิ้งโค๊ด

+HR/DSSS คล้าย DSSS แต่จะส่งในอัตราข้อมูลที่สูงกว่า

+OFDM ใช้เทคนิคการมัลติเพล็กซ์ความถี่ในการส่งสัญญาณ

-Infrared ใช้คลื่นอินฟราเรด ในการส่งข้อมูลไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุทึบแสงได้รับส่งสัญญาณได้ไม่ไกล นิยมใช้กับอุปกรณ์

รีโมทคอนโทรลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

-Laser เปรียบได้กับเครือข่ายที่ใช้สายไฟเบอร์โดยไม่ใช้สายไฟเบอร์ LAN ส่วนใหญ่จะใช้ LED อุปกรณ์ที่ต้องการรับส่งสัญญาณ

จะต้องอยู่ในแนวที่มองเห็นกัน

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

TCP/IP

TCP/IP แบ่งชุดโปโตรคอลออกเป็น 4 ชั้น











1.ชั้นประยกต์ (Application layer)

การทำงานในชั้นนี้จะเป็นการเข้าใช้ทรัพยาการระยะไกล และการแชร์ทรัพยากร มีโปรโตคอลในชั้นนี้ได้แก่

-HTTP ใช้สำหรับการรับส่งไฟล์เว็บเพจ ระหว่างเว็บบราวเซอร์และ เว็บเซิฟเวอร์

-SMTP ใช้สำหรับการรับส่งอีเมลระหว่างเมลเซิฟเวอร์

-POP ใช้สำหรับการดาวน์โหลดอีเมลจากเมลเซิฟเวอร์

-IMAP ใช้สำหรับการดาวน์โหลดอีเมลจากเมลเซิฟเวอร์

-FTP ใช้สำหรับกาถ่ายโอนไฟล์ระหว่างโฮสต์

-Telnet ใช้สำหรับการล๊อกอินเข้างานโฮสต์ระยะไกล

2.ชั้นเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์ มี 2 โปรโตคอล

-TCP ใช้การรับส่งข้อมูลแบบคอนเน็กชั่นโอเรียนเต็ด ซึ่งคือการสร้างการเชื่อมต่อก่อนที่จะส่งข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลจะส่ง

ถึงปลายทางอย่างแน่นอน เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็จะยกเลิกการเชื่อมต่อนั้น

-UDP ใช้การรับส่งข้อมูลแบบคอนเน็กชั่นเลสส์ ไม่ต้องมีการเชื่อมต่อก่อนการส่ง ทำให้ส่งข้อมูลได้เร็วแต่มีโอกาสที่ข้อมูลจะไม่

ถึงปลายทาง

3.ชั้นอินเตอร์เนต โปรโตคอลในชั้นนี้จะทำหน้าที่ส่งแพ็กเก็ตข้อมูลให้ถึงปลายทางด้วยเส้นทางที่เหมาะสม มีโปรโตคอลหลัก

คือ IP ในชั้นนี้จะไม่มีการเชื่อมต่อก่อนส่ง โปรโตคอลอื่นๆเช่น

-ICMP ใช้สำหรับการรายงานข้อผิดพลาดในระหว่างการรับส่งแพ็กเก็ต IP

-IGMP ใช้สำหรับการรายงานโฮสต์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มมัลติคาสต์

-ARP ใช้สำหรับการแปลงหมายเลข IP เป็น MAC address

-RARP ทำงานตรงข้ามกับ ARP

4.ชั้นเข้าถึงเครือข่าย (Network Access)

TC/IP ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับชั้นเข้าถึงเครือข่าย อย่างไรก็ตาม TCP/IP สามารถใช้งานเน็ตเวิร์ค ได้หลาย

ประเภท แต่ที่ใช้งานมากที่สุด คือ อีเธอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์เครื่อข่าย

ฮับ คือ อุปกร์ที่ใช่เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับส่

เฟรมข้อมูลจากพอรืตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังทุกพอร์ต คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับ

จะแชร์แบนด์วิทกัน จึงทำให้ยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับฮับมาก

แบนด์วิทยิ่งน้อยลง

สวิทซ์ ทำหน้าที่คล้าย ฮับ แต่ จะส่งเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตต้นทางไปที่พอร์ตปลายทางเท่านั้น

สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้แบนด์วิท ไม่ขึ้นกับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับสวิทซ์

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิทเท่ากับแบนด์วิทของสวิทซ์

เราท์เตอร์ มีความสามารถเหนือกว่าสวิทซ์ คือ มันจะอ่าน address ของสถานีปลายทาง

ที่สวนหัวของแพ็คเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็คเก็ตต่อไป ซึ่งใน

เราท์เตอร์จะมีข้อมูลในการจัดเส้นทางให้แพ็คเก็ต เรียกว่า เราท์ติ้งเทเบิ้ล

ข้อมูลในตารางจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง

และยังส่งข้อมูลไปยังโปรโตคอลที่ต่างกันได้ สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่าย WAN และเครื่อข่ายที่ใหญ่กว่า เช่น อินเทอร์เนต

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

แผนภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

แผนภาพอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ 02-2010





แผนภาพอินเตอร์เน็ตไปต่างประเทศ 02-2010



ข้อมูลจาก nectec

http://internet.nectec.or.th/webstats/internetmap.current.iir?Sec=internetmap_current

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

Private MIB


mib จะทำการเก็บรวบรวม ชื่อของ อ็อปเจ็ค ประเภทของมันและ ความสัมพันธ์ กับ entity อื่นๆ ที่ถูกจัดการ
ส่วน private mib นั้น จะประกอบด้วยส่วน ประกอบทั้งหมดของ mib 2 กับส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมา
ซึ่งส่วนที่เพิ่มขึ้นมา นั้นขึ้นอยู่กับตัว อุปกรณ์ และบริษัทย์ ผู้ผลิต
ผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละรายสามารถใช้ข้อกำหนดของ smi ในการสร้างกลุ่มของอ็อปเจ็คสำหรับใช้
จัดการอุปกรณ์ของตนเองได้







เทคโนโลยี MRTG

MRTG ย่อมาจากคำว่า Multi Routing Traffic Grapher


ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบการใช้งาน Internet ว่ามีมากน้อยเพียงไร


ในรูปแบบของกราฟ (สามารถแยกแสดงลิ้งค์ในส่วนของในประเทศ และต่างประเทศได้)


โดยเราสามารถขอลิ้งค์เพื่อแสดง MRTG ได้จากบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เนต


ตัวอย่างกราฟแสดง MRTG


จากรูปสามารถสรุปรายละเอียดข้อมูลของกราฟได้ดังนี้
1. ความเร็วอยู่ที่ 4 Mbps
2. โดยเฉลี่ยการใช้งาน Bandwithd อยู่ที่ประมาณ 1-2 Mbps
3. มีการใช้งานสูงมากในช่วงเวลา 04:00- 05:00 น. สังเกตุได้จาก Bandwithd มีการใช้งานเต็ม 4 Mbps
MRTG ยังสามารถดู Network Traffice ในระบบเครือข่ายของเราได้ (ไม่เฉพาะบนอินเตอร์เนต)

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

Nagios กับการ ตรวจสอบระบบ

Nagios คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจจับสถานะการทำงานของ host , service โดยสิ่งที่ตรวจจับนั้นต้องสามารถติดต่อผ่าน


TCP/IP ได้ ซึ่งจะคอยเฝ้าระวังระบบมีเกิดปัญหาโดยจะแจ้งเตือนปัญหาที่เกิดขึ้น


ขั้นตอนการตรวจสอบ topology ของ Nagios


Nagios มีวิธีการตรวจสอบ ความสัมพันธ์ของระบบแบบ Dependency โดยจะให้ความสำคัญกับ Service ก่อน หาก Service


ไม่สามารถติดต่อได้ก็จะ ไปตรวจสอบที่ Host และ Parent ตามลำดับ


MIB-2


mib-2 เป็นองค์ประกอบที่ 2 ในการจัดการเครือข่าย


ในเอเจนต์ แต่ละตัวจะมี mib-2 ซึ่งจะเก็บ object ทุกตัวที่ manager


สามารถจัดการได้ จะมี object แบ่งเป็นกลุ่มอยู่ 10 ประเภทอยู่ภายใต้ mib-2 คือ system, interface, address,


translation, ip, icmp, tcp, udp, egp, transmission และ snmp


MIB ภายใน เอเจนต์

mib เป็นส่วนที่เก็บตัวแปรและ ค่ากำหนดการทำงานของอุปกรณ์

mib ประกอบด้วยตัวแปรจำนวนมากที่เรียกว่า maneged object

โดยที่ object ใน snmp มีลักษณะเช่นเดียวกับ record ในฐานข้อมูล แต่ละ object จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า object identifier

โดยต้องกำหนดให้สอดคล้องกับกฏของ smi

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

วันนี้ศึกษาเรื่อง snmp โดยย่อ ก็คือ

snmp เป็นโปรโตคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล tcp/ip ในการบริการและจัดการเครือข่าย



โดยมี nms เป็นศูนย์กลางในการควบคุม มีระบบเตือนเมื่อส่วนใดในเครือข่ายเกิดการผิดพลาด ทำให้ผู้ดูแลระบบทราบทันที และ



เข้าไปทำการแก้ไขไดรวดเร็ว nms มีหน้าที่หลักคือตรวจสอบเครือข่ายตลอดเวลา และทำรายการสถิติการใช้เครือข่าย



ซึ่ง nms จะทำการติดต่อกับเอเจนต์(เป็นซอฟแวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ) เอเจนต์จะเก็บข้อมูลไว้ภายใน เรียกว่า mib



nms จะนำข้อมุลเหล่านั้นมาแสดงผลในเชิงวิเคราะห์ต่างๆ